สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน

Bechelor of Public Health Program in Community Public Health

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา    สถาบันพระบรมราชชนก

วิทยาลัย/คณะ    วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์

รหัสและชื่อหลักสุตร

1 รหัสหลักสูตร         25530191103532

2 ชื่อหลักสูตร (ภาษาไทย) สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน

3 ชื่อหลักสูตร (ภาษาอังกฤษ) Bechelor of Public Health Program in Community Public Health

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1 ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน)

2 ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) Bechelor of Public Health (Community Public Health)

3 ชื่อย่อ (ภาษาไทย) ส.บ. (สาธารณสุขชุมชน)

4 ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ)  B.P.H (Community Public Health)

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 128 หน่วยกิต

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (ตามเล่ม มคอ.2)

PLO 1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม

PLO 1.1 ปฏิบัติตนอย่างมีคุณค่า มีคุณธรรมความกล้าหาญทางจริยธรรม มีจริยธรรมวิชาชีพ มีความเสียสละ จิตอาสา และซื่อสัตยสุจริต

PLO 1.2 รักษาวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง งาน และสังคม

PLO 1.3 การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

PLO 1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม

PLO 1.5 ปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน

PLO 2 ด้านความรู้

PLO 2.1 มีความรู้และเข้าใจศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพื้นฐานสาธารณสุขชุมชน

PLO 2.2 มีความรู้และเข้าใจศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มวิชาชีพ 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มส่งเสริมสุขภาพและอนามัยชุมชน กลุ่มป้องกัน ควบคุมโรค ระบาดวิทยา สถิติและการวิจัยทางด้านสาธารณสุข กลุ่มตรวจประเมิน การบำบัดโรคเบื้องต้น การดูแลช่วยเหลือและฟื้นฟูสภาพ การส่งต่อ กลุ่มอาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม และกลุ่มบริหารสาธารณสุขและกฎหมายสาธารณสุข

PLO 3 ด้านทักษะทางปัญญา

PLO 3.1 คิด ค้นหา วิเคราะห์ข้อเท็จจริง สังเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ด้านสุขภาพในระดับบุคคล ครอบครัว กลุ่มและชุมชนได้อย่างเป็นองค์รวม

PLO 3.2 วางแผนพัฒนาสุขภาพเป็นองค์รวมแบบบูรณาการและต่อเนื่อง โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

PLO 3.3 สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือการบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหา

PLO 4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

PLO 4.1 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลอื่น

PLO 4.2 สามารถทำงานเป็นทีมและมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่นในหน่วยงานและงานที่ได้รับมอบหมาย

PLO 4.3 มีคุณลักษณะของภาวะผู้นำและภาวะผู้ตามที่ดี

PLO 5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

PLO 5.1 มีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข สังเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อเข้าใจองค์ความรู้หรือประเด็นปัญหาทางสุขภาพ

PLO 5.2 สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการจัดการระบบสุขภาพชุมชน หรือในงานสาธารณสุขได้

PLO 5.3 มีทักษะในการสื่อสารและสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ

PLO 5.4 มีทักษะการทำงานวิจัย การพัฒนานวัตกรรม ทักษะการร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ และทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21

PLO 5.5 สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทั้งการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

PLO 6 ด้านทักษะการฝึกปฏิบัติทางวิชาชีพ

PLO 6.1 สามารถให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกลุ่มวิชาชีพ 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มส่งเสริมสุขภาพและอนามัยชุมชน กลุ่มป้องกันควบคุมโรคฯ กลุ่มตรวจประเมิน กลุ่มอาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม กลุ่มบริหารสาธารณสุขและกฎหมายสาธารณสุข

PLO 6.2 สามารถในการตรวจประเมินบำบัดโรคเบื้องต้น การดูแลให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยและให้คำแนะนำในการเลือกวิธีการที่เหมาะสม แก่ผู้ป่วยได้ ตามมาตรฐานวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน และภายใต้การมอบหมายของกระทรวงสาธารณสุข

PLO 6.3 มีทักษะและปฏิบัติการด้านสาธารณสุขชุมชน ตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพหา 5 กลุ่ม

PLO 6.4 สามารถประเมินสถานการณ์ การวินิจฉัย การวางแผนงานโครงการสุขภาพ การปฏิบัติตามแผน การติดตามและการประเมินผล

PLO 6.5 มีทักษะในการใช้กระบวนการแก้ปัญหาสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในชุมชน ทักษะการเป็นผู้นำในการปฏิบัติงาน การเป็นผู้จัดการสุขภาพชุมชนโดยใช้เครือข่ายอย่างมีส่วนร่วม

PLO 6.6 ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสภาพและส่งต่อได้

PLO 6.7 ให้บริการด้านวิชาการสาธารณะ สุขที่มุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพแก่ประชาชนและหน่วยงานอื่นๆ

เกณฑ์การรับนักศึกษา

เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า

เป็นผู้สำเร็จการศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญ

เป็นผู้สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่า หรืออนุปริญญา

มีเกณฑฺคุณสมบัติอื่น ๆ เพิ่มเติม คุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามประกาศสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข เรื่องการรับสมัครและคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรต่าง ๆ ของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สังกัดกระทรวงสาธารณสุข

สถานภาพของหลักสูตร และการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตรปรับปรุง

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2564 เปิดสอน ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ปรับปรุงจากหลักสูตรสาธาณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2559

คณะกรรมการบริหารจัดการโครงการจัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ ให้ความเห็นชอบในการประชุมวาระพิเศษ ครั้งที่ 1/2564 วันที่ 18 มกราคม 2564

สภาวิชาการให้ความเห็นชอบหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 3/2564 วันที่ 30 มีนาคม 2564

สภาการสาธารณสุขชุมชน ให้ความเห็นชอบหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ 4/2564 วันที่ 19 เมษายน 2564

สภาสถาบันพระบรมราชชนกอนุมัติหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ 5/2564 วันที่ 14 พฤษภาคม 2564

ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

หลักสูตรมีความพร้อมเผยแพร่คุณภาพและมาตฐานตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี ในปีการศึกษา 2566

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

ผู้สำเร็จการศึกษา ที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้ มีคุณสมบัติในการสอบความรู้ เพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน สามารถประกอบวิชาชีพ ตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน และข้อกำหนดของสภาวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน ในสถานบริการสุขภาพสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาการควบคุมโรค นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ นักวิชาการสุขาภิบาล นักวิชาการสุขศึกษา อาจารย์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน หรือนักวิชาการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ รวมทั้งปฏิบัติงานในหน่วยงานอื่นๆเช่น นักวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านสุขภาพและพัฒนาทางด้านสาธารณสุข ภาคเอกชนด้านสาธารณสุข

 โครงสร้าง (หน่วยกิต) กลุ่มวิชา รายวิชา

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรรวมทั้งหมด 128 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30  หน่วยกิต

  1.1 กลุ่มสาระภาษาและการสื่อสาร                15      หน่วยกิต

GE101 ภาษาไทยเชิงวิชาการ   3(2-2-5)

GE102 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3(2-2-5)

GE103 ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ 3(2-2-5)

GE104 ภาษาอังกฤษเพื่อการอ่านและการเขียนเชิงวิชาการ 3(2-2-5)

วิชาเลือก

GE105 ภาษาอังกฤษก้าวหน้า 3(2-2-5)

GE106 ภาษาอังกฤษสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศ 3(2-2-5)

GE107 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3(2-2-5)

GE108 ภาษาจีเพื่อการสื่อสาร 3(2-2-5)

GE109 ภาษาอาเซียนเพื่อการสื่อสาร 3(2-2-5)

    1.2 กลุ่มสาระทักษะความเป็นมนุษย์และทักษะทางสังคม           6       หน่วยกิต

GE201 เราคือ สบช. 3(2-2-5)

วิชาเลือก

GE202 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3(3-0-6)

GE203 จิตปัญญาเพื่อการพัฒนาตนเอง 3(3-0-6)

GE204 การพัฒนาบุคลิกภาพ 3(3-0-6)

GE205 สุนทรียศาสตร์เพื่อชีวิต 3(3-0-6)

GE206 จิตปัญญาศึกษาเพื่อการพัฒนาตนเอง 3(2-2-5)

GE207 สมาธิเพื่อพัฒนาชีวิต 3(3-0-6)

GE208 สังคมพหุวัฒนธรรม 3(3-0-6)

GE209 พลเมืองวิวัฒน 3(2-2-5)

GE210 วัยใส ใจสะอาด 3(3-0-6)

   1.3 กลุ่มสาระทักษะปัญญาและการเรียนรู้ยุคดิจิทัล                    9       หน่วยกิต

GE301 ผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล 3(2-2-5)

GE302 การรู้ดิจิทัล 3(2-2-5)

วิชาเลือก

GE303 การใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล 3(3-0-6)

GE304 วิทยาศาสตร์รักษ์โลก 3(3-0-6)

GE305 วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน 3(3-0-6)

GE306 จิตวิทยาเพื่อคุณภาพชีวิต 3(3-0-6)

GE307 วิถีชีวิตและการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ 3(2-2-5)

GE308 การรังสรรค์อาหารเพื่อสุขภาพ 3(3-0-6)

2. หมวดวิชาเฉพาะ  92   หน่วยกิต                  

2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ          30      หน่วยกิต

   กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์

0204300101 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 3(2-2-5)

0204300202 จุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา 3(2-2-5)

0204300203 ฟิสิกส์สาธารณสุข 3(2-2-5)

0204300204 ชีวเคมี 3(2-2-5)

        กลุ่มวิชาสาธารณสุข

0204300205 พยาธิวิทยา 3(2-2-5)

0204300206 ชีวสถิติและสถิติสาธารณสุข 3(2-2-5)

0204300307 ประชากรศาสตร์ 2(2-0-4)

0204300208 โภชนศาสตร์สาธารณสุข 3(2-2-5)

0204300209 จิตวิทยาสาธารณสุข 2(2-0-4)

0204300210 หลักการสาธารณสุข 3(2-3-4)

0204300211 ชุมชนศึกษาด้านสาธารณสุข 2(1-2-3)

2.2 กลุ่มวิชาชีพ       62      หน่วยกิต

กลุ่มส่งเสริมสุขภาพและอนามัยชุมชน

 0204300212 การส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม 3(2-3-4)

 0204300213 สุขภาพผู้สูงอายุ 2(1-3-2)

 0204300214 สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ 3(2-3-4)

 0204300415 การแก้ไขปัญหาและพัฒนางานสาธารณสุข3(2-3-4)

กลุ่มป้องกันโรค ควบคุมโรค ระบาดวิทยา สถิติและการวิจัยด้านสาธารณสุข

0204300216 การป้องกันและควบคุมโรค 3(2-3-4)

0204300317 วิทยาการระบาด 3(2-3-4)

0204300318 การวิจัยด้านสาธารณสุข 1 2(1-2-3)

0204300319 การวิจัยด้านสาธารณสุข 2 2(1-2-3)

กลุ่มตรวจประเมิน การบำบัดโรคเบื้องต้น การดูแลช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพ

0204300220 การบำบัดโรคเบื้องต้น 3(2-3-4)

0204300221 การปฐมพยาบาล 3(2-2-5)

0204300222 การใช้ยาเบื้องต้นในงานสาธารณสุข 2(2-0-4)

กลุ่มอาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม

0204300323 อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน 3(2-3-4)

0204300324 อนามัยสิ่งแวดล้อม 1 3(2-3-4)

0204300325 อนามัยสิ่งแวดล้อม 2 4(3-3-6)

กลุ่มบริหารสาธารณสุขและกฎหมายสาธารณสุข

0204300426 การบริหารงานสาธารณสุข 3(2-2-5)

0204300427 การจัดการระบบสุขภาพชุมชน 3(2-3-4)

0204300328 เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข 2(2-0-4)

0204300329 กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน 3(3-0-6)

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพในชุมชน แบบบูรณาการ

0204300230 ประสบการณ์สาธารณสุขชุมชน 1 4(0-16-0)

0204300331 ประสบการณ์สาธารณสุขชุมชน 2 4(0-16-0)

0204300432 ประสบการณ์สาธารณสุขชุมชน 3 4(0-16-0)

3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

0204300033 โยคะเพื่อสุขภาพ 3(2-2-5)

0204300034 ดนตรีบำบัด 3(2-2-5)

0204300035 สุขภาพและความงาม 3(3-0-6)

0204300036 กิจกรรมเข้าจังหวะ 3(2-2-5)

0204300039 การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ 3(2-2-5)

0204300040 วิถีชีวิตเพื่อสุขภาพ 3(3-0-6)

0204300046 ภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ทางเลือก 3(2-2-5)

0204300047 นวัตกรรมด้านสาธารณสุข 3(2-2-5)

0204300048 สมุนไพรเพื่อสุขภาพ 3(2-2-5)

0204300049 ทันตกรรมชุมชน 3(2-2-5)

0204300050 คอมพิวเตอร์สำหรับงานสาธารณสุข 3(2-2-5)

0204300051 การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ 3(2-2-5)

0204300052 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูลขนาดใหญ่3(2-2-5)

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา

การสำเร็จการศึกษาของผู้สำเร็จการศึกษาต้องมีคุณสมบัติตามข้อบังคับสถาบันพระบรมราชชนก ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2564 ดังนี้

  • คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 2.00
  • จำนวนปีที่เรียนไม่เกิน 2 เท่าของเวลาที่หลักสูตรกำหนด
  • สอบได้จำนวนหน่วยกิตครบตามหลักสูตรภายใน 4 ปี ไม่เกิน 8 ปี
  • ผ่านการสอบความรู้รวบยอดตามเกณฑ์การวัดและประเมินผลการศึกษาของสถาบันพระบรมราชชนก
  • ผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษ ตามประกาศของสถาบันพระบรมราชชนก
  • ชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการศึกษาครบตามระเบียบของวิทยาลัย

                                                                                                                                                                                                                              วันที่ปรับปรุงรายละเอียดของหลักสูตร 13 กุมภาพันธ์ 2566

    แหล่งเผยแพร่ เว็บไซต์วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก เฟสบุคข่าวประชาสัมพันธ์วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก